หลักสูตร ปวช. พุทธศักราช 2556




การจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2556 สำนักงาน กศน. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับวิธีกาจัดการศึกษานอกระบบดังนี้
1.  การเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษา กศน. ปวช.
          สถานศึกษาเดิมที่เปิดสอนอยู่แล้วและต้องการเปิดสาขาใหม่ให้ดำเนินการเตรียมความพร้อมดังนี้
1.1  ให้ข้าราชการครูทำหน้าที่ในการจัดกิจกรรมกาเรียน หากไม่มีให้สรรหาครู ปวช.
1.2  การสรรหาครู ปวช. ที่มีความรู้ ความสามารถตรงตามสาขาที่เปิดสอน
1.3  สถานที่เรียน สถานที่ฝึกปฏิบัติ จัดเตรียมสถานที่เรียนที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน
1.4  วัสดุอุปกรณ์ในการฝึกปฏิบัติ สถานศึกษาจะต้องสำรวจและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ในการฝึกปฏิบัติ
ของผู้เรียนในสาขาวิชาที่เปิดสอน
1.5  วิทยากรสอนภาคปฏิบัติ สถานศึกษาต้องจัดหาวิทยากรสอนภาคปฏิบัติ
1.6  หน่วยงานเครือข่ายที่ร่วมจัดการเรียนรู้ โดยเครือข่าย/หน่วยงานสถานประกอบการ จะต้องร่วม
ดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.7  การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ และ V –Net สถานศึกษาต้องประสานงานและทำความตกลงกับ
สถานศึกษาในสังกัด สำนักงานอาชีวศึกษาในการจัดส่งผู้เรียนไปเข้ารับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ และ
V – Net
2.  การขออนุญาตจัดการศึกษา
          ในการขอเปิดสอนการศึกษานอกระบบตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2556
2.1  สถานศึกษาที่มีความพร้อมตามเกณฑ์ที่สำนักงาน กศน. กำหนดทำโครงการการเรียนการสอน
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2556 เสนอสำนักงาน กศน.จังหวัด / กทม.
2.2  สำนักงาน กศน.จังหวัด / กทม. พิจารณาโครงการ เอกสารแนบและประเมินความพร้อมของ
สถานศึกษาที่ผ่านการประเมินความพร้อมของสถานศึกษาตามเกณฑ์สำนักงาน กศน.
2.3  สำนักงาน กศน.จังหวัด / กทม.  อนุมัติ และเสนอโครงการของสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินความ
พร้อมต่อสำนักงาน กศน.
2.4  กรณีที่สถานศึกษาเดิมจะเปิดสอนสาขาใหม่ต้องขออนุมัติต่อ สำนักงาน กศน. ใหม่ ตามขั้นตอน
ข้อที่  2.1 , 2.2 , 2.3
การรับสมัครผู้เรียน
3.1  สถานศึกษาและสถานประกอบการ / หน่วยงาน กำหนดวันเวลาและสถานที่รับสมัครโดยประชาสัมพันธ์ให้กว้างขวาง พร้อมกับให้ผู้เรียนเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ มาให้พร้อม
          3.2  คุณสมบัติของผู้เรียน
                   3.2.1  ผู้เรียนต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
                   3.2.2  ผู้เรียนต้องมีงานทำและสมัครเรียนในสาขาที่ทำงานปัจจุบัน
                   3.2.3  ผู้เรียนต้องมีหนังสือรับรองการทำงานจากสถานประกอบการ กรณีทำงานอิสระให้ส่วน
งานราชการ หรือหน่วยงาน / บุคคลที่เชื่อถือได้ในชุมชนรับรอง
3.2.4  ต้องมีเวลาเรียนตามที่สถานศึกษา กศน.กำหนด
 4.  การจัดกลุ่มผู้เรียน
          4.1  การจัดกลุ่มผู้เรียนกลุ่มละไม่น้อยกว่า 38 คน และไม่เกิน 45 คน
4.2  กลุ่มที่มีผู้เรียนสาขาวิชา จะต้องกำหนดวันและเวลาเรียนต่างกัน ซึ่ง ครู ปวช. ต้องเขียนแผนการเรียนรู้ให้ชัดเจนเพื่อคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน
5.  เวลาเรียน
สถานศึกษาต้องจัดให้มีการเรียนการสอนภาคเรียนละ 18 – 20 สัปดาห์ ในหนึ่งสัปดาห์ต้องจัดให้ผู้เรียน
ได้เรียนกับครู ปวช. หรือผู้สอนในสถานประกอบการไม่น้อยกว่า 14 ชั่วโมง
6.  การจัดแผนการเรียน
          6.1  สถานศึกษาต้องจัดทำแผนการเรียน 6 ภาคเรียน ในทุกสาขาที่เปิดสอนและแจกให้ผู้เรียนทุกคน
          6.2  สถานศึกษาต้องจัดทำแผนการเรียน (ตารางสอน) ในหนึ่งสัปดาห์และแจกให้ผู้เรียนทุกคน
7.  การจัดการเรียนรู้
7.1  สถานศึกษาต้องจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะ บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ
7.2  สถานศึกษาต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติตามจุดประสงค์และสมรรถนะรายวิชา
          7.3  จัดกระบวนการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการปฏิบัติการและสถานการณ์จริง
7.4  ให้ความสำคัญกับความรู้ ความสามารถที่ผู้เรียนมีอยู่ก่อนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนนำความรู้ความสามารถมาเทียบโอนได้
7.5  จัดให้ผู้เรียนได้เรียนกับครู ปวช. หรือผู้สอนในสถานประกอบการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 14 ชั่วโมง ตามวันเวลาที่กำหนด เพื่อเรียนทฤษฏี ปฏิบัติ หรือทบทวนความรู้ รายงานความก้าวหน้าจากการเรียนรู้ตนเอง
7.6  สถานศึกษาจะต้องจัดให้มีวิทยากรสอนเสริมในสาระของรายวิชาต่าง ๆ ที่ผู้เรียนไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้ ตามที่มีการคิดวิเคราะห์ไว้ให้ในแผนการเรียน
7.7  สถานศึกษาจะต้องจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงในสาขาวิชา / สาขางาน
8.  การวัดและประเมินผลปลายภาคเรียน
          ให้สถานศึกษาและภาคเครือข่ายจัดทำแบบสอบถาม
9.  การเทียบโอนผลการเรียน
สถานศึกษาต้องจัดให้มีการเทียบโอนผลการเรียนวิชาให้ผู้เรียนตามระเบียบหลักเกณฑ์การเทียบโอนที่
เกี่ยวข้อง
 10.  ประเมินความรู้และประสบการณ์จากการประกอบอาชีพ
          การขอประเมินบางส่วนของรายวิชา สถานศึกษาจะต้องวิเคราะห์เนื้อหาในรายวิชาว่าในแต่ละบทเรียนมีเนื้อหา ดังนี้
          10.1  สถานศึกษาต้องดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนรู้ โดยการประเมินความรู้และประสบการณ์ตาม    ระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
          10.2  การประเมินความรู้และประสบการณ์ ประเมินเป็นรายวิชา
10.3  ให้สถานศึกษา หรือสถานศึกษาร่วมกับสถาบัน กศน.ภาค จัดทำเครื่องมือประเมินความรู้และประสบการณ์
          10.4  รายวิชาที่ผ่านการประเมินความรู้และประสบการณ์แล้วให้บันทึกเป็นผลการเรียน
11.  การประเมินความรู้และประสบการณ์ สามารถขอประเมินบางส่วนรายวิชา
          11.1  ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนรายวิชาตามปกติ
11.2  ในรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนมีบางส่วนของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้อยู่แล้ว เพราะประกอบอาชีพอยู่ ให้ดำเนินการประเมินความรู้และประสบการณ์ในส่วนที่ผู้เรียนมีประการประกอบอาชีพอยู่
12.  การฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
          12.1  ผู้เรียนที่ทำงานในสถานประกอบการไม่น้อยกว่า 1 ปี สามารถนำประสบการณ์การทำงานมาเทียบการฝึกทักษะวิชาชีพได้ โดยให้สถานศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ ประเมินผลงานเป็นระดับผลการเรียนรู้
13.  โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ
          เป็นวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า บูรณาการความรู้ทักษะและประสบการณ์จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
14.  การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
          กิจกรรมเสริมหลักสูตร เป็นเงื่อนไขการจบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2556 ซึ่งผู้เรียนต้องทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรไม่น้อยกว่า สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์
          1.  เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
          2.  เพื่อให้ผู้เรียนใช้กระบวนการกลุ่มในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
          3.  เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม โดยการปฏิบัติจริง
ลักษณะของกิจกรรม
          1.  กิจกรรมลูกเสือวิสามัญ
          2.  กิจกรรมองค์การวิชา
          3.  กิจกรรมอื่น ๆ ที่สถานประกอบการ / หน่วยงาน / สถานศึกษา
          4.  รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
 การบริหารหลักสูตร
          หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2556 สถานศึกษาต้องพัฒนาหลักสูตรขึ้นเองตามธรรมชาติตามบริบทของสถานศึกษา ที่มีความแตกต่างกันโดยเปิดโอกาสให้สถานศึกษา สถานประกอบการ ขุมชนและท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร ให้ตรงตามความต้องการและสอดคล้องกับสภาพยุทธศาสตร์ของภูมิภาค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
1.  ศึกษาและทำความเข้าใจในรายละเอียดของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2556
          2.  ศึกษาและทำความเข้าใจแผนการเรียนแต่ละสาขาวิชา
3.  สถานศึกษาต้องกำหนดรายวิชาให้สอดคล้องกับหมวดวิชา กลุ่มวิชาและหลักเกณฑ์ในการเลือกรายวิชา
          4.  จัดทำแผนการลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตรให้ครบทุกสาขาวิชาที่ขอเปิดสอน
การพัฒนารายวิชาเพิ่มเติม
          ให้คำนึงถึงความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสถานประกอบการ
วิธีการจัดการเรียนรู้
          1.  การเรียนรู้ด้วยตนเอง
          2.  การเรียนรู้ด้วยการพบกลุ่ม
          3.  การเรียนรู้ด้วยการสอนเสริม
          4.  การเรียนรู้จากโครงงานหรือโครงการ
          5.  การเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน
          6.  การเรียนรู้โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT)
วิธีการจัดการเรียนรู้รายวิชา
          รายวิชาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2556 มี 3 แบบ คือ
1.  การจัดการเรียนรู้รายวิชาที่เรียนทฤษฏีอย่างเดียว
2.  การจัดการเรียนรู้รายวิชาทฤษฏีและปฏิบัติ (Lab)
3.  การจัดการเรียนรู้รายวิชาทฤษฏีและปฏิบัติ (Shop)
การจัดทำแผนการเรียน (ตารางสอน) รายสัปดาห์
          สถานศึกษาต้องจัดทำแผนการเรียนในหนึ่งสัปดาห์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบว่าตนเองต้องเรียนอะไรบ้างในแต่ละสัปดาห์ เวลาที่เรียนแต่ละวิชากิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ต้องทำแต่ละสัปดาห์รวมทั้งการวัดผลระหว่างภาคเรียน
 การจัดทำโครงการ
          โครงการเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2556 เป็นวิชาหนึ่งที่อยู่ในหมวดวิชาชีพ มีค่าเท่ากับ 4 หน่วยกิต กำหนดให้ผู้เรียนทำโครงการในภาคเรียนสุดท้าย
หมวดวิชาชีพโครงการ
จุดประสงค์รายวิชา
          1.  เพื่อให้เข้าใจหลักการและกระบวนการวาแผนจัดทำโครงการ
          2.  เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ทักษะ และประสบการณ์ในการสร้างและพัฒนางาน ในสายวิชาชีพตามขั้นตอนกระบวนการ
          3.  เพื่อให้มีกิจนิสัย คุณธรรม และเจตคติที่ดีต่อการทำโครงการ
การจัดทำโครงการ
สมรรถนะรายวิชา
          1.  เข้าใจหลักการและกระบวนการวางแผนการทำโครงการ
          2.  วางแผนจัดทำโครงการตามลักษณะสาขางานอาชีพ
          3.  ดำเนินงานโครงการตามแผนงานและขั้นตอนกระบวนการ
          4.  ปรับปรุงแก้ไขปัญหาการดำเนินงานโครงการตามหลักสูตร
          5.  สรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
ขั้นตอนการทำโครงการ
          1.  ลงทะเบียนเรียนวิชาโครงการ จำนวน 4 หน่วยกิต ในภาคเรียนสุดท้าย
          2.  ผู้เรียนรวมกลุ่มหรือรายบุคคลร่วมกันคัดเลือกเรื่อง / หัวข้อที่จะทำโครงการ
3.  ให้สถานประกอบการ / หน่วยงาน  สถานศึกษา ที่ปรึกษา ผู้เรียนพิจารณากรอบแนวความคิดในการทำโครงการ
          4.  ผู้เรียนเขียนโครงการนำเสนอสถานศึกษา
โครงสร้างหลักสูตร                                                               
โครงสร้างของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 แบ่งเป็น 3 หมวดวิชา และกิจกรรมเสริมหลักสูตรดังนี้
หมวดวิชาทักษะชีวิต
-           กลุ่มวิชาภาษาไทย
-          กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ
-          กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์
-          กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์
-          กลุ่มวิชาสังคมศึกษา
-          กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
 หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ
-           กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน
-          กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ
-          กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก
-          ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
-          โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ
หมวดวิชาเลือกเสรี
กิจกรรมเสริมหลักสูตร