เอกสารประกอบการเรียนการสอน รายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ

ชื่อ – นามสกุล  .......................................................  รหัสนักศึกษา  ................................  รุ่น  ...........
แบบทดสอบก่อนเรียน  วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
1. ปัจจุบันสังคมมนุษย์จัดอยู่ในยุคใด
ก.  ยุคเกษตรกรรม                     ข.  ยุคอุตสาหกรรม                    ค.  ยุคสารสนเทศ                       ง.  ยุคสงครามเย็น
2.  บิดาของคอมพิวเตอร์ คือใคร
ก.  มอชลี                                  ข.  เอคเคิร์ท                               ค.  เบลส ปาสคาล                      ง.  ชาร์ลส์ แบบเบจ
3.  ยุคแรกของคอมพิวเตอร์ ใช้อุปกรณ์ใดในวงจรประมวลผล
ก.  ไอซี                                     ข.  ทรานซิสเตอร์                        ค.  หลอดสุญญากาศ                  ง.  ไมโครโปรเซสเซอร์
4.  ในยุคใดที่เริ่มมีการคิดค้นภาษาระดับสูงที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ก.  ยุควงจรรวม                          ข.  ยุคทรานซิสเตอร์                   ค.  ยุคหลอดสุญญากาศ              ง.  ยุควีแอลเอสไอ (ไอซี)
5.  ในยุควีแอลเอสไอ (ไอซี) ใช้สารชนิดใดเป็นตัวรวมวงจรให้เป็นซิป
ก.  เงิน                                      ข.  ทองคำ                                 ค.  ทองแดง                               ง.  ซิลิกอน
6.  ข้อใดเรียงลำดับยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบันได้ถูกต้อง
ก.  ทรานซิลเตอร์ หลอดสุญญากาศ วงจรรวม ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
ข.  หลอดสุญญากาศ  ทรานซิสเตอร์ วงจรรวม ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
ค.  หลอดสุญญากาศ วงจรรวม ทรานซิสเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
ง.  ทรานซิสเตอร์ วงจรรวม หลอดสุญญากาศ ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
7.  เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใดมีวิวัฒนาการรวดเร็วที่สุด
ก.  Super Computer                    ข.  Mini Computer                      ค.  Personal Computer                ง.  MainFrame Computer
8.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ ซีพียู(CPU)
ก.  ซีพียู คือหน่วยความจำ                      
ข.  ซีพียูประกอบด้วยหน่วยควบคุมหน่วยคำนวณและตรรกะ
ค.  หน้าที่หลักของซีพียูคือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ง.  ซีพียูมีหน้าที่อ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและทำตามกันเรียงทีละคำสั่ง
9.  การทำงานในข้อใดจำเป็นต้องใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผล
ก.  งานควบคุม่ขีปนาวุธ
ข.  งานควบคุมทางอากาศ
ค.  งานประมวลผลภาพทางการแพทย์
ง.  ถูกทุกข้อ
10.  ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานในด้านใด
ก.  สมุดจดบันทึกประจำวัน
ข.  การออกแบบงานกราฟิก
ค.  การคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์
ง.  ใช้ทำงานได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะทั่วไป  
11. ข้อใดให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ได้ถูกที่สุด
ก.  อุปกรณ์ที่มีหน่วยความจำ จอภาพ คีย์บอร์ดและอื่น ๆ
ข.  อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์  ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของชุดคำสั่ง
ค.  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำแบบอัตโนมัติ สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
ง.  เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการทำแบบอัตโนมัติทำหน้าที่เสมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ตามคำสั่งของโปรแกรม
12. ความเร็ว (Speed) ในคอมพิวเตอร์ จะถูกกำหนดโดยอุปกรณ์ชนิดใด
ก.  หน่วยส่งออก                        ข.  หน่วยความจำ                       ค.  หน่วยประมวลผล                  ค.  หน่วยนำเข้าข้อมูล
13.  ข้อใดเป็นข้อจำกัดของการใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ก.  ต้องใช้อุปกรณ์สำรองข้อมูลจำนวนมาก                        ข.  ต้องใช้ต้นทุนในการวางระบบสูงจึงจะทำงานได้ดี
ค.  เครื่องคอมพิวเตอร์กินกระแสไฟฟ้ามากทำให้สิ้นเปลือง  ง.  ต้องใช้ผู้มีความรู้ความชำนาญสูงปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์
14. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เก็บรวบข้อมูล
ก.  ห้องอาหารใช้คอมพิวเตอร์ร้องเพลงคาราโอเกะ
ข.  การตรวจกระดาษคำตอบที่ผู้เข้าสอบฝนด้วยดินสอดำ
ค.  พนักงานห้างสรรพสินค้าใช้เครื่องอ่านรหัสแท่งกับสินค้า
ง.  บรรณารักษ์ห้องสมุดเช็คการยืมหนังสือด้วยคอมพิวเตอร์
15. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์บันทึกข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์
ก.  แผ่นบันทึกข้อมูล                                                       ข.  กระดาษขนาด เอ เกรด A                
ค.  แผ่น ซีดี รอม และแผ่น ดีวีดี                                       ง.  ฮาร์ดดิสก์ แฮนดิสก์ แผ่นดิสเก็ต
16.  เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการคำนวณโดยการนับจำนวนโดยตรง ข้อมูลที่นับได้จะเก็บเป็นรหัสตัวเลขฐาน คือ มีเลข กับเลข หมายถึงข้อใด
ก.  ดิจิตอลคอมพิวเตอร์              ข.  ไฮบริดคอมพิวเตอร์                ค.  อนาล็อกคอมพิวเตอร์             ง.  ถูกทุกข้อ
17. คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รุ่นแรก สร้างในปี ค.ศ. 1960 ที่องค์การทหารของสหรัฐอเมริกา สร้างสามารถประมวลผลได้กว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที หมายถึงข้อใด
ก.  มินิคอมพิวเตอร์                     ข.  สถานีงานวิศวกรรม               ค.  ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์              ง.  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ 
18.  เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึงข้อใด
ก.  ไมรโครคอมพิวเตอร์               ข.  สถานีงานวิศวกรรม               ค.  ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์              ง.  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ 
19.  ข้อใดคือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด
ก.  ไมรโครคอมพิวเตอร์               ข.  มินิคอมพิวเตอร์            ค.  โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์                ง.  ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ 
20. ไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนาน้อย มีน้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัมจอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบมีทั้งแสดงผลแบบสีเดียว หรือแบบหลายสี หมายถึงข้อใด
ก.  โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์               ข.  แล็ปท๊อปคอมพิวเตอร์                        ค.  คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ         ง.  ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ 

ใบความรู้ที่ 1  วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
เรื่อง  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ ( computer ) มาจากภาษาลาติน หมายถึง เครื่องคำนวณชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถจำข้อมูลและคำสั่งได้ โดยการนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำก่อน หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จะทำการดึงคำสั่งมาเพื่อนำไปปฏิบัติงาน และจะให้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ 
คุณสมบัติพิเศษของคอมพิวเตอร์   สามารถทำงานได้รวดเร็วได้อย่างรวดเร็ว   สามารถเก็บหน่วยความจำได้มาก  ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์  ข้อมูลที่ได้ถูกต้องและแม่นยำ   สามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้
 แนวคิดในการสร้างคอมพิวเตอร์
1.       การรู้จักจดและนับตัวเลขแบบง่ายๆ โดยการใช้นิ้วมือและลูกหินแทนการรับ
2.      การใช้รูปภาพแทนตัวเลขในสมัยอียิปต์
3.      การใช้ลิ่มเป็นสัญญลักษณ์แทนตัวเลขของชาวบาบิโลเนียน
4.      การเริ่มใช้ตัวเลขของชาวโรมัน
5.      ระบบเลขอาริบิค ที่ใช้จนถึงปัจจุบัน
6.      การใช้ลูกคิดช่วยในการคิดคำนวณของชาวจีน โดยเริ่มมีมาเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน และ ลูกคิด นี้เองเป็นจุดเริ่มต้นในการคิดค้นสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมา
การนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ
1.  การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานส่วนตัว  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลงมาก ผู้คนจึงนิยมซื้อคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานส่วนตัวที่บ้าน เรียกว่า โฮมคอมพิวเตอร์ “ ส่วนใหญ่นำไปใช้ในด้านงานเอกสาร เก็บข้อมูลส่วนตัว วิเคราะห์รายรับรายจ่ายของครอบครัว เล่นเกม  หรือเพื่อความบันเทิงจากระบบมัลติมีเดีย
2.  การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานการเงินและบัญชี   งานประเภทนี้ต้องใช้ตัวเลขเป็นจำนวนมาก การตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขเป็นสิ่งที่ยุ่งยากมาก   การตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขเป็นสิ่งที่ยุ่งยากมากโดยเฉพาะในธุรกิจขนาด ใหญ่     การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ทำให้การทำงานสะดวกขึ้น เช่น การวางระบบคอมพิวเตอร์สำหรับออกแบบใบทวงหนี้การออกใบเสร็จรับเงิน การทำประวัติและบัญชีลูกค้า การทำบัญชีเงินเดือน เป็นต้น
3.  การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร  ธนาคารทุกแห่งจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการฝากหรือถอนเงิน ความถูกต้องและรวดเร็วในการให้บริการเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด นอกจากนี้ยังมีบริการด้านสินเชื่อ เงินกู้ การแลกเปลี่ยนเงินตรา การถอนเงินแบบ ATM เป็นต้น การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ทำให้งานทุกด้านมีความคล่องตัวสูงทุกด้าน เช่น การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน การตลาด ลูกค้าจะได้รับความสะดวกในการฝากถอนเงิน และสามารถตรวจสอบสถานะทางการเงินได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
4.  การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการสำรองที่นั่ง  การนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยเก็บชื่อผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยว วันเวลาเดินทาง สถานที่จะขึ้นหรือลง สายการบิน เที่ยวบิน และจำนวนที่นั่งของยานพาหนะ จะทำให้เจ้าหน้าทีทราบสถานะและเหตุการณ์ได้ทันท่วงที ข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อถึงกันทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จะทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับช่วงผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวได้ทันท่วงที
5.  การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมการผลิต  โรงงานอุตสาหกรรมที่ทันสมัยแทบทุกแห่ง ได้นำคอมพิวเตอร์มาควบคุมการผลิตเพื่อให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้นโดยมีการควบคุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต จนกระทั่งคุณภาพของสินค้าสำเร็จรูปที่ออกมาจากโรงงานก่อนที่จะนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้า คอมพิวเตอร์จะรายงานอุปสรรคที่เกิดขึ้นแล้วแก้ไขอัตโนมัติ งานจึงไม่หยุดชะงัก
6.  การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ  งานออกแบบทั่วไป เช่น การออกแบบก่อสร้าง ออกแบบเครื่องยนต์ รถยนต์ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นงานที่ต้องรอบคอบ สิ้นเปลืองแรงงานและเวลา ปัจจุบันได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยออกแบบ เรียกว่า โปรแกรมCAD (Computer Aided Design) เช่น โปรแกรม AUTOCAD และคอมพิวเตอร์ช่วยการผลิตทางอุตสาหกรรมเรียกว่า CAM (Computer Aided Manufacturing) มาอำนวยความสะดวกในการเขียนแบบชิ้นส่วนต่าง ๆ บนจอภาพ ปรับปรุงแก้ไข
7.  การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษา  ประเทศไทยได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการศึกษาไม่น้อยกว่า 20 ปีมาแล้ว โดยนำมาใช้ในหลายลักษณะ เช่น ในการเรียนการสอนโดยเปิดสอนวิชาของคอมพิวเตอร์และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กับวิชาอื่น ๆ นอกจากนี้ยังนำมาช่วยในงานบริหาร เช่น การทำระเบียนประวัติของนักศึกษาช่วยงานทะเบียนและงานแนะแนว การเก็บเงินลงทะเบียนเรียนของงานการเงิน งานวัดผลช่วยตัดเกรดและคิดเกรดเฉลี่ยสะสม งานทำใบ รบ. หรือใบประกาศนียบัตร ฯลฯ   ปัจจุบันได้พัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อช่วยสอน ที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aided Instruction) ในวิชาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และแม้กระทั่งวิชาของคอมพิวเตอร์เอง มีภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงเสมือนจริง นักเรียนจึงสนใจมากขึ้น ได้สนุกสนานกับการเรียนด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายในการแสวงหาความรู้อีกต่อไป  
8.  การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์  วงการแพทย์ได้ใช้คอมพิวเตอร์ ในการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ หัวใจ อวัยวะภายใน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ผลรังสีเอ็กซ์ที่ผ่านเข้าไปในคนไข้ โดยการแสดงข้อมูลบนจอภาพ เรียกว่า “ เอ็กเรย์โทโมกราฟี “ (X – Ray Tomography) ภาพทีได้เป็นภาพตัดขวางทีละแนว นอกจากนี้ยังนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงานในโรงพยาบาล เช่น การจองเตียงคนไข้ คุมสต๊อกยา ระเบียนคนไข้
9.  การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการคมนาคมและการสื่อสาร   ปัจจุบันการคมนาคมและการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นข่าวสารด้านวิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียมต่าง ๆ ใช้คอมพิวเตอร์เข้าควบคุมและจัดการทั้งสิ้น เช่น การถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์
10.  การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านนันทนาการ   เช่น เกมส์คอมพิวเตอร์ทั่วไป ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาเข้าสู่ระบบมัลติมีเดีย ทำให้คอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเครื่องเสียง รวมกับโทรทัศน์ รวมกับวิดีโอ และคอมพิวเตอร์อยู่ในเครื่องเดียวกันในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป
ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ มีเหตุผลหลายประการ เพราะ
1.  ราคาไม่แพง เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่า “ เครื่องพีซี ” หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีราคาถูกลงมาก เหมาะสำหรับนำไปใช้ในธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่บ้าน หรือพกพาไปไหนมาไหน
2.  ใช้งานได้สะดวก เพราะมีโปรแกรมสำเร็จอีกมากมายไวให้เลือกใช้ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น โปรแกรมสำเร็จด้านบัญชี โปรแกรมสำเร็จด้านเวิร์ดโปรเซสซิ่ง โปรแกรมสำเร็จด้านการออกแบบ
3.  ได้ข้อสรุปที่ถูกต้องและรวดเร็ว คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ แยกแยะ ปรับปรุง และสรุปผลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เหมาะสำหรับสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ดังนั้นการได้ข้อสรูปที่ถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
4.  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คนเราทุกคนมีความสามารถอันจำกัด เช่น ความสามารถในการพิมพ์ดีด การนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทำให้ได้ผลงานที่รวดเร็ว
5.  ลดเนื้อที่วัสดุอุปกรณ์เก็บรักษาข้อมูล มีอุปกรณ์ในการรักษาข้อมูล ไม่ต้องใช้กระดาษ
ขนาดของคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น ประเภท คือ
1.  Microcomputer หรือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบา ราคาไม่แพง สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ซึ่งทำงานโดยระบบผู้ใช้คนเดียว ( Single-user System ) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้แบ่งได้เป็น ประเภท คือ
1.1  Personal Computers (PCs) เป็นคอมพิวเตอร์ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวก เหมาะกับงานประเภท Word Processing และ Spreadsheets
1.2  Workstations ( สถานีงาน ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาแพง นิยมนำไปใช้ในงาน  ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์
2.  Minicomputer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลและความจุต่ำกว่าระบบเมนเฟรม  มินิคอมพิวเตอร์จะทำงานโดยใช้ระบบผู้ใช้หลายคน (Multi-user System) มักจะใช้กับงานที่มีข้อมูลไม่มาก ส่วนใหญ่ที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้งานกับบริษัทขนาดกลาง เช่น ระบบบัญชี หรืออาจนำไปใช้ร่วมกับระบบเมนเฟรมก็ได้
3.  Mainframe Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำรองจาก Supercomputer มีความเร็วในการประมวลผลสูง ส่วนใหญ่มักจะนำไปใช้งานกับองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารสายการบินบริษัทประกันภัยมหาวิทยาลัย เป็นต้น
4.  Supercomputer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสามารถประมวลผลได้เร็วที่สุด มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูง ส่วนมากจะผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ยุ่งยากซับซ้อน และต้องมีการคำนวณมาก งานออกแบบบนเครื่องบิน งานวิจัยทางด้านนิวเคลียร์ ซึ่งเครื่องคอมชนิดนี้จึงมีราคาค่อนข้าแพงมาก ดังนั้นจึงไม่นิยมใช้แพร่หลายนัก
และ ถ้าแบ่งตามขนาดนั้นสามารถแบ่งแยกตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
1.  คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)  เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแป้นพิมพ์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้ทั่วไป
2.  แล็บท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer)  เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก จอภาพใช้เป็นแบบแบนราบ ชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid crystal Display : LCD) มีน้ำหนักของเครื่อง เบาประมาณ 3-8 กิโลกรัม
3.  โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook Computer)  เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขาดใหญ่และมีความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5 –3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว และแบบหลายสี โน๊ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือนกับแล็ปท็อป 
4.  ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (Palmtop Computer)  เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ เหมาะสำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่น สมุดบันทึกประจำวัน พจนานุกรม  บันทึกการนัดหมาย
ใบความรู้ที่ 2   วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
เรื่อง  วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
3,000 ปีก่อน  ประมาณ 3,000 ปีที่ผ่านมาชาวจีนได้รู้จักการใช ้ลูกคิด ช่วยในการคิดคำนวณ และลูกคิดนี้ก็ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน  ค.ศ.1617  จอห์น เนเปียร์ (John Napier) นักคณิตศาสตร์ชาวสต๊อตได้ประดิษฐ์ตารางลอกการิทึม (Logarithms) ซึ่งช่วยให้การคูณและหารกระทำได้โดยง่ายขึ้นโดย ใช้หลักการบวกและลบ ลอกการิทึก ต่อมาเขาได้ประดิษฐ์เครื่องช่วยคำนวณขึ้นอีก ค.ศ.1630 วิเลียม ออกเตรท (William Ongtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ใช้แนวคิดของจอห์น เนเปียร์สร้างสไลด์รูล(Slide Rule) ช่วยในการคูณต่อมาได้กลายเป็น รากฐานในการสร้าง Analog Computer  ค.ศ.1642  เบลส์ ปาสคาล(Biaise Pascal) นักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์เครื่องบวกเลขที่สร้างจากเฟือง ตัวเข้าช่วยในการทด แต่ละตัวมีฟันเฟือง ตัวหนึ่งนับครบ 10 อัน เฟืองตัวติดกันทางซ้ายจะขยับไป ตำแหน่งหลักการเครื่องบวกเลขของปาสคาลนี้เป็นรากฐานในการพัฒนาเครื่อง คำนวนในเวลาต่อๆ มา  ค.ศ.1671  กอดฟรีด ฟอน ไลปนิซ(Gottfricd Von Leibniz) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องที่ใช้ในการคูณด้วยวิธีบวกเลขซ้ำๆ กันอย่างรวดเร็ว โดยใช้ฟันเฟืองทด(Stepped wheel)  ค.ศ.1745 
โจเซฟ แมรี่ เจคคาร์ด (Joseph Maries Jacquard) ชาวฝรั่งเศษได้คิดเครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทอผ้าให้มีสีและลวดลายต่างๆ เครื่องทอผ้าชนิดนี้ถือว่าเป็นเครื่องที่สามารถทำงานด้วยบัตรเจาะรูและใช้โปรแกรมคำสั่งให้ทำงานเป็นเครื่องแรก ค.ศ.1822  ชาล์ แบบเบจ (Charles Babbage) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อังกฤษได้ออกแบบสร้างเครื่องคำนวณที่เรียกว่า เครื่องหาผลต่าง(Difference Engine) เป็นผลสำเร็จ โดยได้ดัดแปลงเครื่องคำนวณ เครื่องคิดเลข และบัตรเจาะรู ซึ่งมีอยู่แล้วในสมัยนั้น เครื่องนี้ใช้คำนวณและพิมพ์ตารางค่าของฟังก์ชันต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ ต่อมาเขาได้พยายามสร้างเครื่องขนาดใหญ่ เพื่อที่จะได้สร้างตารางค่า ของฟังก์ชันต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ ต่อมาเขาได้พยายามสร้างเครื่องขนาดใหญ่ เพื่อที่จะได้สร้างตารางโพลิโนเมียลดีกรีที่หก ที่มีความถูกต้อง ทศนิยมตำแหน่งที่ 20 แต่เขาไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่สามารถกลึงฟันเฟืองและเกียร์ให้ทำงานอย่างเที่ยงแท้แน่นอนได้  ต่อมาในปี 1833 แบบเบจ พยายามที่จะสร้างเครื่องคำนวณอีกเครื่องหนึ่งเรียกว่า เครื่องวิเคราะห์ (Anlytical Engine) ซึ่งดีกว่าเครื่องหาผลต่างเครื่องนี้ทำงานด้วยระบบพลังไอน้ำ โดยมีการทำงาน ส่วน คือส่วนเก็บข้อมูล ส่วนควบคุม และส่วนคำนวณ โดยมีข้อมูลบันทึกอยู่ในบัตรข้อมูล และทากรคำนวณโดยอัตโนมัติ และเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในหน่วยความจำก่อนที่จะพิมพ์ออกมาทางกระดาษหรือเจาะลงบัตรก็ได้ แต่เครื่องนี้ไม่สามารถสร้างได้ เพราะความคิดของเขาล้ำหน้าเกินกว่าวิทยาการและเทคโลโลยีสมัยนั้นจะสร้างได้ ประกอบกับขาดทุนทรัพย์เนื่องจากรัฐบาลอังกฤษงดให้ทุนแก่เขา แนวคิดของแบบเบจเพิ่งจะมีการรับรู้อีกครั้งหนึ่งในประมาณปี 1944 อย่างไรก็ตาม หลักการและแนวความคิดของเขา ได้ถูกนำมาใช้ในการสร้างคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น ดังนั้นเขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์   นักคณิตศาสตร์ที่เข้าใจผลงานของแบบเบจคือ เอดา ออกุสตา(Ada Augsta) เธอได้เขียนวิธีใช้ Analytical Engine ช่วยในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ชั้นสูงได้ ซึ่งต่อมาได้ตีพิมพ์ใน Taylor's Scientific Memoris ในปี ค.ศ.1834 เธอจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก  ค.ศ.1850   ยอร์ซ บูล (Grorge Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้สร้างระบบพิชคณิต เรียกว่า Boolean Algebra ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิค รวมทั้งการออกแบบทางตรรกวิทยาของเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ รวมทั้งมีผลต่อความคิดเกี่ยวกับเลขฐานสอง  ค.ศ.1880  ดร.เฮอร์แมน ฮอลเลอริธ (Dr Herman Hollerith) นักสถิติชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่ช่วยในการทำงานด้านสถิติเครื่องแรกขึ้น โดยใช้กับบัตรเจาะรูที่บันทึกได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษรและสัญญลักษณ์พิเศษเครื่องนี้ได้รับการปรังปรุงเรื่อยมา และใช้ประโยชน์ครั้งแรกในปี 1890 โดยใช้ใน งานประมวลผลด้านสำมะโนประชากรของสหรัฐเครื่องนี้สามารถอ่านบัตรได้ 250 บัตรต่อนาที และช่วยให้งานประมวลผลนี้เสร็จในเวลา ปีครึ่ง จากเดิมที่ใช้เวลา ปีครึ่ง (ใช้เวลาเพียง ใน เท่านั้น) บัตรที่เฮอร์แมนคิดขึ้นมานี้เรียกว่า บัตรฮอลเลอร์ริท และรหัสที่เฮอร์แมนคิดขึ้นมาเรียกว่า รหัสฮอลเลอร์ริท บัตรของฮอลเลอริทยังคงใช้กันอยู่จนจึงปัจจุบัน และชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียกบัตรนี้ก็คือ บัตร IBM หรือบัตร 80 คอลัมน์ เพราะบัตรดังกล่าวมี 80 คอลัมน์และบริษัท IBM เป็นผู้ผลิตนั่งเอง ในปี ค.ศ.1896 เขาได้ตั้งบริษัทนี้ได้ร่วมกับบริษัทอื่นๆ จัดตั้งเป็นบริษัทใหม่เรียกว่า International Business Machine Cor  ค.ศ.1944  ศจ.โฮเวิร์ด อายเคน (Progessor Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัท IBM ได้สร้างเครื่องคำนวณจากความคิดของแบบเบจสำเร็จ ชื่อว่า Autometic Sequence Controlled Calcalator (ASCC) หรือ MARX I เครื่อง ดังกล่าวนี้ทำงานโดยอัตโนมัติ ตลอดทั้งเครื่องสามารถอ่านข้อมูลจากบัตร หรืออาจะป้อนข้อมูลเข้า เครื่องโดยตั้งสวิทธ์ที่หน้าปัดควบคุมด้วยมือ และพิมพ์ผลลัพธ์ออกทางเครื่องพิมพ์ไฟฟ้า หรือเจาะลงบัตร ส่วนการสั่งและควบคุมให้ทำงานนั้นทำจากภายนอกเครื่อง โดยใช้บัตรเจาะรูหรือเทปกระดาษ ถึงแม้ว่าเครื่องมือจะมีขนาดใหญ่โต มีส่วนประกอบมากมายปฏิบัติงานช้ากว่าปัจจุบันมาก แต่ก็นับว่าเครื่อง MARX I เป็นเครื่องคำนวณอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก  ในระหว่างปี 1942-1946  
            จอห์น มอชลี (Jhon Mauchly) และเปรสเปอร์ เอคเคร์ด (Presper Eckerd) มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ได้ร่วมกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อีเล็กทรอนิคเครื่องแรกที่มีชื่อว่า ENIAC (ElectornicNumerical Integrator And Calculator) เครื่องนี้เป็นเครื่องอีเล็กทรอนิคส์ที่ซับซ้อนที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ทำงานได้เร็วกว่า MARK I เกือบ 1,000 เท่า สามารถคูณ ได้ 300 ครั้งต่อนาที เนื่องจากเครื่อง ANIAC นี้ทำงานด้วยไฟฟ้าทั้งหมด จึงทำให้เกิดความร้อนมาก จึงต้องติดตั้งในห้องปรับอากาศ ENIAC ไม่สามารถเก็บคำสั่งไว้ในเครื่องได้ ต้องใช้คำสั่งจากภายนอกเครื่อง และการปฏิบัติงานต้องเป็นไปตามลำดับคำสั่ง เครื่องนี้นำมาใช้ประโยชน์โดยกองทัพบกสหรัฐในการคำนวณตารางแสดงวิถีกระสุน  ค.ศ. 1949 
            ดร.จอร์น ฟอน นิวแมน (Dr. John Neurnann) ได้เสนอแนวคิดเพื่อ แก้ข้อบกพร่องของเครื่อง MARK I ว่าควรเก็บคำสั่งต่างไว้ในหน่วยความจำของเครื่อง และเห็นว่าควรใช้ระบบเลขฐานสอง (Binary System) แทนระบบฐานสิบที่ใช้อยู่เดิม เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สร้างขึ้นตามข้อเสนอแนะนี้ สร้างที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (CAMBRIDGE) ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 1949 มีชื่อว่า EASAC ( Electronic Delayed Stroage Automatic Computer) เครื่องนี้สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ในเครื่องได้ (จอห์น ฟอน นิวแมน ไม้ได้สร้างเครื่องนี้เป็นเพียงผู้เสนอแนวคิดเท่านั้น) และในเวลาใกล้เคียงกัน ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ดร.จอห์น ฟอน นิวแมน และผู้ร่วมงานของเขาได้สร้างเครื่อง EDSAC ( Electronic Discrete Variable Autometic Computer )เครื่องนี้สามารถเก็บคำสั่งไว้ในหน่วยความจำของเครื่องเช่นกัน ซึ่งอาจถือว่าเครื่อง EDSAC และ EDVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก
ค.ศ.1951  มอชลี (Mauchly) และ เอคเคิร์ด (Eckert) ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งชื่อว่าUNIVAC I(Universal Autometic Computer) และนำไปใช้ในงานสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐ ในปี ค.ศ.1951 เครื่อง UNIVAC I นี้ ถึอว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแรกที่ผลิตเพื่อขายหรือให้เช่า  ค.ศ.1953-1954  บริษัท IBM ได้สร้างคอมพิวเตอร์ IBM 701 และ IBM 650 โดยทั้งสองเครื่องนี้ยังใช้หลอดสูญญากาศ ต่อมาได้มีการนำวงแหวนแม่เหล็ก (Megnetic Core ) และหลอดทรานซิลเตอร์มาสร้างเป็นหน่วยความจำภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์เล็กลง และเกิดความร้อนน้อยกว่า เครื่องที่ผลิตโดยใช้ทรานซิสเตอร์นี้คือ IBM 1401 และ IBM 1620  ค.ศ.1965 เป็นต้นไป  เริ่มมีการใช้วงจรหรือ IC ( Integrated Circuit ) แทนทรานซิลเตอร์ โดย IC หนึ่งตัวสามารถทำงานได้เทียบเท่ากับ Transister หลายร้อยตัว  ค.ศ. 1970  ได้มีการค้นพบ LSI (Large Scale Integrated Circuit)หรือไมโครโปรเซสเซอ(Microprocessor ) ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะ LSI หนึ่งตัว สามารถทำงานได้เทียบเท่ากับ IC หลายพันตัว 
ใบความรู้ที่ 3   วิชาคอมพิวเตอร์เพื่ออาชีพ
ส่วนประกอบต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์
1.  CPU เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ย่อมาจากคำว่า Central Processing Unit เป็นส่วนที่ทำหน้าที่คำนวณและประมวลผลข้อมูล ซึ่งมีชิป (Chip) เป็นอุปกรณ์สำคัญและมีแผ่นวงจร หน่วยความจำเป็นอุปกรณ์ประกอบ ปัจจุบันนิยมใช้กันหลายเบอร์ ได้แก่ 386, 486 หรือ ปัจจุบันใช้ Pentium ถือว่าเป็นพัฒนาใหม่ล่าสุดและเป็นที่นิยมใช้กันมาก                               
2.    Monitor (จอแสดงผล) เป็นอุปกรณ์คล้ายจอทีวี เป็นหน่วยแสดงผลข้อมูล Input หรือ Output ใช้สำหรับแสดงข้อความหรือกราฟฟิกตามความต้องการของโปรแกรม เพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถดูผลลัพธ์จากการประมวลผลได้ จอแสดงผล มี ชนิด คือ  จอภาพแบบสีเดียว (Monochrome Display) เป็นจอภาพซึ่งแสดงผลได้สีเดียว โดยมากที่ใช้สีที่ใช้สำหรับจอชนิดนี้ คือ สีเขียวและสีเทา โดยมากจะเป็นสีเขียว กล่าวคืออักษรที่ปรากฏบนจอภาพเป็นสีเขียว โดยมีพื้นรอบ ๆ หรือพื้นหลัง (Background) เป็นสีดำ จอชนิดนี้จะมีราคาถูกกว่าจอแสดงผลสี หมาะสำหรับพิมพ์ข้อความ เช่น งานประมวลผล งานฐานข้อมูล แต่ไม่เหมาะกับงานกราฟฟิก
จอภาพแสดงสี (Color Display) หรือที่เรียกจอแบบ VGA หรือ Video Graphic Array แสดงสีได้สูงสุด 144 สี ในปัจจุบันได้พัฒนาจนสามารถแสดงสีได้ถึง 16 ล้านสี มีความละเอียดของจอภาพ 640 * 480 จุด ภาพที่ได้จะเละเอียดมากน้อยขึ้นอยู่กับความละเอียดของจอภาพ  ความละเอียดของจอภาพ (Screen Resolution)   สามารถดูได้จากความชัดเจนของข้อความ และรูปภาพทางกราฟฟิกที่ปรากฏบนจอภาพ ความละเอียดของจอภาพขึ้นอยู่กับจำนวนจุดของการกำเนิดภาพบนจอภาพ จุดต่าง ๆ นี้เรียกว่า Pixels เช่น ความละเอียดของจอภาพ 640*200 Pixels หมายความว่า บนจอภาพจะประกอบด้วยจุดต่าง ๆ ทั้งหมด 128,000 จุดเมื่อตัวอักษรปรากฏบนจอภาพ เราจะแทนตำแหน่งของตัวอักษรบนจอภาพในรูปแบบของแถว (Row) และคอลัมน์ (Column) หน้าจอโดยทั่ว ๆ ไปจะมี 25 แถว 80 คอลัมน์
3. Keyboard (แป้นพิมพ์) เป็นอุปกรณ์สำหรับป้อนข้อมูลซึ่งอาจเป็นคำสั่งหรือโปรแกรมต่าง ๆ แบ่งออกเป็น ส่วน คือ
ส่วนที่เหมือนกับแป้นพิมพ์ดีดทั่วไป   ส่วนที่เป็นตัวเลข และคีย์ลูกศรที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของ Cursor   ส่วนที่เป็น Function Key หรือ คีย์พิเศษ มี 12 ปุ่ม ( F1-F12 ) ใช้ในการทำหน้าที่พิเศษตามที่โปรแกรมต่าง ๆ กำหนด  ส่วนที่เป็นคีย์ที่ใช้ทำหน้าที่เฉพาะอย่างตามชื่อคีย์ เช่น Insert, Home, Page Up, Page Down, Delete, End, Print Screen, Scroll Lock, Escape และ ปุ่มลูกศรตามทิศทางต่าง ๆ ปุ่ม 
4. Printer หรือ เครื่องพิมพ์ มี แบบ ดังนี้
1. เครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม (dot matrix printer) หัวเข็มของเครื่องพิมพ์ อาจมี หรือ 24 หัวเข็มทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความละเอียด ของงานพิมพ์ที่ผู้ใช้ต้องการ เครื่องพิมพ์ดังกล่าวนี้ เป็นรุ่นเก่า เหมาะสำหรับ งานพิมพ์ประเภท ตัวอักษร (text) แต่ก็สามารถพิมพ์แบบกราฟฟิก ได้ แต่ความเร็วในการพิมพ์ค่อนข้างต่ำ พิมพ์ได้ทั้ง กระดาษแบบต่อเนื่อง และกระดาษขนาด A4 ความเร็วในการพิมพ์ ประมาณ 150-300 ตัวอักษรต่อวินาที ( Characters Per Second หรือ CPS )
2.เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก(Ink Jet) เป็นเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก นิยมใช้ระบบมินิคอมพิวเตอร์และระบบเมนเฟรม ความละเอียดในการพิมพ์ ดีกว่าแบบแรก พิมพ์ภาพสีได้ แต่ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ค่อนข้างสูง ความเร็วในการพิมพ์ก็ไม่สูงนัก พิมพ์ ได้เฉพาะกระดาษเป็นแผ่น เช่น A4 หรือ A3 แต่พิมพ์กระดาษต่อเนื่องไม่ได้                                               
3.เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) พิมพ์ได้ทั้งภาพสี และ ขาวดำ ความเร็วในการพิมพ์อาจมากกว่า 20 แผ่น ต่อนาที (Pages Per Minute หรือ PPM ) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุนของเครื่องพิมพ์ ค่าใช้จ่าย ต่อแผ่นต่ำกว่า เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก พิมพ์กระดาษต่อเนื่องได้ นอกจากรุ่นที่ออกแบบมาเป็นกรณีพิเศษ

 4. เครื่องพิมพ์แบบจานหมุน (Daisy Wheel)เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีคุณภาพในการพิมพ์ดีกว่า คือ สวยงาม คมชัดกว่า แต่มีความเร็วช้ากว่าเครื่องพิมพ์แบบ Dot   Matrix โดยปกติความเร็วในการพิมพ์ไม่เกิน 100 ตัวอักษรต่อวินาที (CPS)
5. Mouse (เมาส์) เป็นอุปกรณ์ที่ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถใช้แทนการทำงานของเคอร์เซอร์ และแป้น Enter ของคีย์บอร์ด โดยการเลื่อนเมาส์ไปมาบนผิวหน้าของโต๊ะ ซึ่งจะมีผลให้ตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเคลื่อนไปมาตามที่ผู้ใช้ต้องการ
6. UPS ย่อมาจาก Uninterrupt Power Supply เป็นอุปกรณ์ที่มีแบตเตอรี่ชนิดแห้งอยู่ภายใน ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันไฟฟ้าและแรงดันกระแสไฟฟ้าให้อยู่คงที่เสมอ เมื่อเกิดกระแสไฟตกและจ่ายไฟสำรองให้เมื่อไฟฟ้าดับ
ใบความรู้ที่  4    วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
 ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)
ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ ส่วน คือ  ฮาร์ดแวร์ (Hardware)  ซอฟต์แวร์ (Software)  และ  บุคลากร (Peopleware)
1.  ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้
หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล
1.1     หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse)  นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
1.2    หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ
หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ
หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
1.3    หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น ประเภท
1.  หน่วยความจำภายใน
หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่
2.    หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM  แผ่นดิสก์หรือสเกต เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น ขนาด คือ 
แผ่นดิสก์ขนาด นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน                                      
หน่วยวัดความจุของข้อมูลในคอมพิวเตอร์
8 Bit
1 Byte
1 Byte
ตัวอักษร
1 KB
1,024 Byte
1 MB
1,024 KB
1 GB
1,024 MB
1 TB
1,024 GB
หน่วยความจำต่ำสุด คือ บิต (BIT [Binary Digit]) โดยใช้บิตแทน ตัวอักขระ หรือ ไบต์ (Bite) หน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่วย คือ กิโลไบต์ (Kilobyte) โดยที่ กิโลไบต์ มีค่าเท่ากับ 10 ไบต์ หรือ 1,024 ไบต์ หน่วยความจำที่ใหญ่ขึ้นไปอีก เรียกว่า เมกะไบต์ กิกะไบต์ และเทระไบต์
ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง ชนิดติดแน่นไม่มีการเคลื่อนที่ สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก เป็น ขนาด คือ
             1.  ขนาด 5.25 นิ้ว (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
             2. ขนาด 3.5 นิ้ว
ทั้ง ขนาดจะมีความจุ ตั้งแต่ 10,20,40,80,120,300,400 MB1 GB,2 GB ฯลฯ ปัจจุบันนิยมใช้ตั้งแต่ 10 GB ขึ้นไป
Hard disk
Data Rate หมายถึง ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากดิสก์ไปสู่สมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ (หรือมีความเร็วในการนำข้อมูลมาจากสมองเครื่องไปบันทึกลงบนดิสก์) มีหน่วยวัดเป็น จำนวนไบต์ต่อวินาที ( Bytes Per Second หรือ bps )  ซีดีรอม (CD-Rom ) เป็นจานแสงชนิดหนึ่ง ใช้เก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง มี  คุณสมบัติดังนี้  เป็นสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะมีความจุสูงถึง 2 GB (2 พันล้านไบต์)   มีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก  ใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ในการอ่านเขียนข้อมูล
เป็นจานแสงชนิดอ่านได้อย่างเดียว ( Read Only Memory ) ไม่สามารถเขียนหรือลบข้อมูลได้
3.    หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)
2.  ซอฟแวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม ซึ่งมี 2ประเภท คือ
ซอฟแวร์ควบคุมระบบ (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix
ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ
3.  บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นต้น
 ใบความรู้ที่  6  วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
-         เสียบปลั๊กไฟทุกเส้นที่ต่อมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะต่อหม้อแปลงที่เครื่องและต่อจากจอภาพให้เสียบปลั๊กเต้าเสียบให้เรียบร้อย
-        เปิดสวิตซ์สำหรับเปิด-ปิดเครื่อง (ปุ่ม Power) ที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์จะพบว่ามีไฟสีเหลืองติดท่เครื่องคอมพิวเตอร์และที่แป้นพิมพ์
-        เปิดสวิตซ์จอภาพ หรือบางที่อาจจะติดพ่วงกับจอคอมพิวเตอร์ จะพบตัวอักษรเกิดขึ้นบนจอภาพ
ขั้นตอนการใช้แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว
-        การจับแผ่นดิสก์ควรจับบริเวณที่ติดฉลาก ให้ด้านที่มีฉลากหงายขึ้น ดังรูป
-        ใส่แผ่นดิสก์เข้าไปในช่อง Disk Drive A:
การนำแผ่นดิสก์ออก ในระหว่างการทำงานจะมีไฟติดอยู่ อย่าเพิ่งนำแผ่นดิสก์ออก
-        ให้กดที่ปุ่มที่ใส่ดิสก์ แผ่นดิสก์จะออกมา
-        ขั้นตอนเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้โปรแกรมมี วิธี
การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม DOS มีดังนี้
-        นำแผ่นโปรแกรม DOS มาใส่ใน Drive A:
-        กดปุ่ม Power เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์สักครู่จะปรากฏคำว่า  Current Date is Wed 01-01+2000
Enter new date (mm-dd-yy):  ให้ตรวจสอบ เดือน/วัน/ปี ปัจจุบันว่าตรงหรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้แก้ไข ถ้าตรงแล้วให้กด Enter
ต่อจากนั้นจะปรากฏข้อความ   Current time 12:12:12a    Enter new time:     ให้ตรวจสอบเวลาปัจจุบันว่าตรงหรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้แก้ไข ถ้าตรงให้กด Enter  
การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โดย Hard Disk
โดยการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยกดปุ่ม Power จะมีการเข้าสู่โปรแกรมหรือเข้าสู่โปรแกรมของรายการเมนูหลักของโปรแกรม ให้เลือกโปรแกรมที่ต้องการ  ในโปรแกรม Windows 95 จะเข้าสู่หน้าต่าง Windows 95 แล้วเลือก Start เลือกโปรแกรมที่ต้องการต่อไป
วิธีปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
-        ต้องมีการปิดแฟ้มการทำงานและออกจากโปรแกรมใช้งานก่อนเสมอ
การปิดเครื่องระบบปฏิบัติการ Windows 95 มีขั้นตอนดังนี้
-        เลือกที่ปุ่ม Start
-        เลือก Shut Down จะพบเมนูให้เลือก
-        เลือก Shut Down the Computer
-        เลือก Yes จนกว่าจะปรากฏข้อความว่า
-        "It now safe to turn off your computer"  จึงจะปิดเครื่อง Computer ได้
-        ปิดสวิตซ์จอภาพก่อน                              -  ปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์
-        ดึงปลั๊กสายไฟออกจากเต้า
-        ควรมีการปัดฝุ่นบริเวณเครื่องคอมพิวเตอร์
-        ให้ใช้ผ้าคลุมเครื่องเพื่อป้องกันฝุ่นละออง

 ใบความรู้ที่  7  วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ INTERNET

INTERNET & WEBSITE

อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เกิดจากการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ขององค์กรต่าง ๆ บริษัทห้างร้าน และผู้สนใจทั่วไป มาเชื่อมต่อกัน และครอบคลุมไปทั่วโลก   เครือข่ายเหล่านี้เชื่อมเข้าหากันภายใต้กฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันได้
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือกำเนิดมาในยุคสงครามเย็น ระหว่างสหรัฐอเมริกากับ   
รัสเซีย  ซึ่งกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นว่าระบบคอมพิวเตอร์สำหรับสั่งการต้องเป็นระบบเครือข่ายที่ทำงานได้เสมอ   หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูที่เมืองใดเมืองหนึ่ง   ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจถูกทำลาย  แต่ส่วนที่เหลือต้องทำงานได้  เป้าหมายการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงกลายเป็นโครงการชื่อ ARPA (Advanced Research Projects Agency) โดยมอบหมายให้กลุ่มมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ทำการวิจัยและเชื่อมโยงเครือข่าย      พัฒนาการส่วนนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.. 2522
  การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการต่อมา ถึงแม้ว่าในช่วงหลังกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาเลิกให้การสนับสนุน แต่เครือข่ายนี้ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนามาตรฐานต่างๆ เข้ามาใช้อย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้กลายเป็นมาตรฐานการสื่อสารชื่อ TCP/IP และใช้ชื่อว่า   เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)
  สำหรับในประเทศไทย  เริ่มมีการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี พ.. 2532 โดยหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีการเชื่อมโยงเพื่อส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับประเทศ
ออสเตรเลีย ซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์    โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ก็ได้มี
โครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย จากนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงปี พ.. 2534  ที่กองทหารรัสเซียได้ปิดล้อมและดำเนินการปฏิวัติ มีการวางแผนปิดการสื่อสารทุกชนิด ทั้งทางด้านวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ระหว่างประเทศ ทำให้ข่ายการสื่อสารระหว่างประเทศถูกตัดขาดจากโลกภายนอก  แต่ปรากฏว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยังใช้การได้
ข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก  จึงไหลออกไปยังภายนอกทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้บุคคลภายนอกได้รับทราบข่าวสารทาง     เครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งนี้อย่างรวดเร็ว
เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม พ.. 2535  ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยก็เช่นกัน คนไทยในต่างแดนจำนวนมากทราบข่าวสารอย่างรวดเร็วผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีผู้รายงานข่าวเข้าสู่อินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ข่าวสารได้กระจายออกไปยังทั่วโลก
บริการในระบบอินเทอร์เน็ต
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีแหล่งที่ให้บริการข้อมูล ข่าวสาร บทความ รายงาน ผลงานวิจัยและความบันเทิงด้านต่าง ๆ รูปแบบการให้บริการบนอินเทอร์เน็ต มีดังนี้
1.  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  (Electronic Mail : E-Mail)   เป็นการรับ – ส่งจดหมายถึงกันผ่านเครือข่าย     อินเทอร์เน็ต  การส่งเอกสารข้อความมีลักษณะเหมือนการส่งจดหมาย แต่ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานให้เองโดยอัตโนมัติทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว  สามารถติดต่อกันได้อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีที่อยู่     (E-mail address) เช่น san@kku.ac.thscha@rayongwit.ac.th , mjeeb@oho.ipst.ac.th , webmaster@thaigoodview.com  
2.  การถ่ายโอนข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP) เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร  บทความ     รวมถึงแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง    ในกรณีที่โอนย้ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนอินเทอร์เน็ตมาลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่าดาวน์โหลด  (download) ส่วนกระบวนการนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบน    อินเทอร์เน็ตเรียกว่า อัพโหลด (upload)
3. การเรียกใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น (telnet) ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบอื่น ๆ ในที่ห่างไกล ช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องเดินทางไปที่เครื่องนั้นๆ
4.  โกเฟอร์ (gopher)  บริการค้นหาไฟล์และฐานข้อมูลเป็นบริการที่คล้ายกับ FTP แต่การจัดเก็บสารบบ           รายการแฟ้มข้อมูล และไอคอนของโกเฟอร์จะมีความเป็นระเบียบและแสดงรายละเอียดได้ดีกว่า FTP ซึ่งเสมือนกับตู้บัตรคำในห้องสมุดที่สามารถค้นหาข้อมูล โดยการระบุชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ชื่อที่เกี่ยวข้อง
5.  การสนทนา (chat) และข่าวสาร (Usenet) เป็นการจัดเก็บข่าวสารที่ส่งไปไว้ในคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง  โดยที่ทุกคนสามารถเข้าไปอ่านข่าวสาร  มีการจัดกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและแสดงความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
6.  เวิร์ลไวด์เว็บ  (World  Wide  Web : WWW)    เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลข่าวสารเข้าหากันและครอบคลุมทั่วโลก  ลักษณะของข้อมูลที่สืบค้นได้จะเป็นเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ที่สร้างด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ซึ่งประกอบด้วยข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว บริการนี้ได้รับ       ความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากสร้างและแก้ไขง่าย  ผู้คนหรือหน่วยงานต่างๆ จึงนิยมนำเสนอข้อมูลหรือขายสินค้าด้วยบริการนี้  การเข้าถึงข้อมูลแต่ละแห่งเปรียบเสมือนการเยี่ยมบ้านของแต่ละคนเราจึงมักได้ยินคำว่าโฮมเพจ (Homepage) หรือบ้านของแหล่งข้อมูลแต่ละแห่งและสามารถเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บเพจ (Webpage) อื่น ๆ ได้อีก
            การให้บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันเป็นบริการที่จัดทำไว้ในรูปแบบของ เว็บไซท์ (Website) ทั้งสิ้น โดยผู้ที่เป็นเจ้าของเว็บไซท์  จำนำเอาข้อความภาพและเสียง มาเรียบเรียงเพื่อนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร กฎเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีใช้บริการต่าง ๆ ของตนในลักษณะของการจัดแสดงรายละเอียดเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าเรียกว่า เว็บเพจ (Webpage)  แต่ละเว็บเพจจะมี       ไฮเปอร์ลิงค์ (Hyperlink) ให้เราเลือกคลิกเพื่อเชื่อมโยงไปยังรายละเอียดในเว็บเพจอื่น ๆ โดยในจำนวนนี้จะมีอยู่หนึ่งเว็บเพจทำหน้าที่เป็นหน้าหลักซึ่งจะถูกแสดงออกมาเป็นหน้าแรกของเว็บไซท์  เราเรียกเว็บเพจที่ทำหน้าที่เป็นหน้าหลักนี้ว่า โฮมเพจ

ขั้นตอนการสร้างเว็บไซท์

            การสร้างเว็บไซท์ให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นจะต้องมีการจัดเตรียมข้อมูล และออแบบหน้าเว็บเพจต่าง ๆ อย่างพิถีพิถัน ทั้งนี้เพื่อให้เว็บไซท์ที่เราสร้าง มีรูปแบบสวยงาม น่าใช้ ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลและบริการ โดยมีขั้นตอนปฏิบัติสำคัญ ดังนี้
1.       กำหนดจุดประสงค์หลัก
กำหนดจุดประสงค์หลักของเว็บไซท์ให้ชัดเจนว่า ต้องการนำเสนอข้อมูลอะไร มีสินค้าและ     บริการใดบ้าง ลูกค้าและกลุ่มผู้เข้าชมเป้าหมายที่เราต้องการคือใคร
2.      รวบรวมและจัดเตรียมข้อมูล
เป็นการรวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนำเสนอ ทั้งส่วนที่เป็นข้อความ ภาพ และเสียง ข้อมูลที่ดี ควรมีเนื้อหาทันสมัย ทำความเข้าใจได้ง่าย ตรงกับความต้องการของผู้เข้าชม เป้าหมายและมีขนาดพอเหมาะ เนื่องจากหากข้อมูลที่นำเสนอนั้นยาวเกินไป จะทำให้การเปิดดูต้องใช้เวลานานจนน่าเบื่อ
3.      ออกแบบโครงสร้างของเว็บไซท์
เป็นกำหนดโครงร่างคร่าว ๆ ของเว็บไซท์ว่า จะมีสักกี่เว็บเพจ แต่ละเว็บเพจจะนำเสนอข้อมูล อะไรบ้าง โดยต้องเน้นที่จะให้ผู้เข้าชมสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกที่สุด
4.       ออกแบบเว็บเพจและโฮมเพจ
ต้องออกแบบรายละเอียด ของแต่ละหน้าเว็บเพจ (รวมทั้งโฮมเพจด้วยว่าแต่ละหน้าจะจัดวางข้อความและภาพอย่างไร ตรงไหนเป็นไฮเปอร์ลิงค์เชื่อมโยงไปยังข้อมูลอื่น และใช้สีสันและรูปแบบการนำเสนออย่างไร ให้น่าสนใจ และสอดคล้องต่อเนื่องกันไปทั้งเว็บไซท์

5.      สร้างโฮมเพจและเว็บเพจ
เป็นการสร้างโฮมเพจและเว็บเพจ ตามรายละเอียดที่ออกแบบไว้ โดยจะเขียนด้วยภาษา HTML XML หรือจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น Dreamweaver,Flash,FrontPage หรือ นาโม ฯลฯ
6.      การอัพโหลดเว็บเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
คือ การส่ง เว็บเพจที่เราเขียนนำขึ้นไปไว้ในอินเตอร์เน็ต เพื่อให้เป็นเว็บไซท์ที่สามารถเยี่ยมชมได้ทั่วโลก โดยสิ่งแรกที่ต้องทำคือ ลงทะเบียนขอเนื้อที่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (เรียกว่า Host : โฮสท์ หรือ Server : เซิร์พเวอร์ซึ่งมีทั้งแบบที่เราสามารถขอใช้เนื้อที่ได้ฟรี ๆ และแบบที่ต้องเสียเงินค่าเช่า)
การอัพโหลด (Upload)  หมายถึง  การคัดลอกสิ่งต่าง ๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายใน Internet
องค์ประกอบสำหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
หากต้องการต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต  ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้
1.     เครื่องคอมพิวเตอร์
2.    โมเด็ม (modem) เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณอะนาลอกเป็นดิจิตอล และแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอะนาลอก โมเด็มมี ประเภทคือแบบติดตั้งภายใน (internal) และแบบติดตั้งภายนอก (external)  ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายโทรศัพท์
3.    คู่สายโทรศัพท์  1 เลขหมาย 
4.   ชื่อบัญชีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (account) จากองค์กรหรือบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider  : ISP) 
5.    ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์สำหรับติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โปรแกรมบราวเซอร์(Browser)  และซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่ใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
6.    เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์ (ในกรณีที่ต้องการพิมพ์ข้อมูล)

   ชื่อ – นามสกุล  .......................................................  รหัสนักศึกษา  ................................  รุ่น  .........
ใบงานที่ 1    วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
เรื่อง  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.  คอมพิวเตอร์ ( computer )  หมายถึงอะไร
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
2.  คุณสมบัติพิเศษของคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง  
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
3.  แนวคิดในการสร้างคอมพิวเตอร์ มีว่าอย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างสัก 3 แนวความคิด
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
4.  การนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ได้ด้านใดบ้าง
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
5.  ยกตัวอย่าง การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษา ทำได้อย่างไรบ้าง
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
6.  ยกตัวอย่าง  การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์ ทำได้อย่างไรบ้าง
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
7.  ยกตัวอย่าง ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ มีเหตุผลหลายประการ อะไรบ้าง
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
8..ขนาดของคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
9.  คอมพิวเตอร์ประเภทใด ที่ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก และเนื่องมาจากเหตุผลใด
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
10.  คอมพิวเตอร์ประเภทใด นำไปใช้งานกับองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารสายการบินบริษัทประกันภัยมหาวิทยาลัย
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
ชื่อ – นามสกุล  .............................................................  รหัสนักศึกษา  ............................  รุ่น  ...........
ใบงานที่ 2    วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
เรื่อง  วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ปัจจุบันสังคมมนุษย์จัดอยู่ในยุคใด
ก.  ยุคเกษตรกรรม                     ข.  ยุคอุตสาหกรรม                    ค.  ยุคสารสนเทศ                       ง.  ยุคสงครามเย็น
2.  บิดาของคอมพิวเตอร์ คือใคร
ก.  มอชลี                                  ข.  เอคเคิร์ท                               ค.  เบลส ปาสคาล                      ง.  ชาร์ลส์ แบบเบจ
3.  ยุคแรกของคอมพิวเตอร์ ใช้อุปกรณ์ใดในวงจรประมวลผล
ก.  ไอซี                                     ข.  ทรานซิสเตอร์                        ค.  หลอดสุญญากาศ                  ง.  ไมโครโปรเซสเซอร์
4.  ในยุคใดที่เริ่มมีการคิดค้นภาษาระดับสูงที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ก.  ยุควงจรรวม                          ข.  ยุคทรานซิสเตอร์                   ค.  ยุคหลอดสุญญากาศ              ง.  ยุควีแอลเอสไอ (ไอซี)
5.  ในยุควีแอลเอสไอ (ไอซี) ใช้สารชนิดใดเป็นตัวรวมวงจรให้เป็นซิป
ก.  เงิน                                      ข.  ทองคำ                                 ค.  ทองแดง                               ง.  ซิลิกอน
6.  ข้อใดเรียงลำดับยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบันได้ถูกต้อง
ก.  ทรานซิลเตอร์ หลอดสุญญากาศ วงจรรวม ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
ข.  หลอดสุญญากาศ  ทรานซิสเตอร์ วงจรรวม ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
ค.  หลอดสุญญากาศ วงจรรวม ทรานซิสเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
ง.  ทรานซิสเตอร์ วงจรรวม หลอดสุญญากาศ ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
7.  เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใดมีวิวัฒนาการรวดเร็วที่สุด
ก.  Super Computer                    ข.  Mini Computer                      ค.  Personal Computer                ง.  MainFrame Computer
8.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ ซีพียู(CPU)
ก.  ซีพียู คือหน่วยความจำ                      
ข.  ซีพียูประกอบด้วยหน่วยควบคุมหน่วยคำนวณและตรรกะ
ค.  หน้าที่หลักของซีพียูคือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ง.  ซีพียูมีหน้าที่อ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและทำตามกันเรียงทีละคำสั่ง
9.  การทำงานในข้อใดจำเป็นต้องใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผล
ก.  งานควบคุม่ขีปนาวุธ
ข.  งานควบคุมทางอากาศ
ค.  งานประมวลผลภาพทางการแพทย์
ง.  ถูกทุกข้อ
10.  ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานในด้านใด
ก.  สมุดจดบันทึกประจำวัน
ข.  การออกแบบงานกราฟิก
ค.  การคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์
ง.  ใช้ทำงานได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะทั่วไป

  
ชื่อ – นามสกุล  ...........................................................  รหัสนักศึกษา  ..............................  รุ่น  ...........
ใบงานที่ 3    วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
ส่วนประกอบต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.  CPU ทำหน้าที่เสมือนส่วนใดของมนุษย์ และทำหน้าที่อะไรบ้าง
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
2.    Monitor (จอแสดงผล) เป็นอุปกรณ์คล้ายอะไร มีกี่ชนิดอะไรบ้าง ตอบ .......................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
3.  คอมพิวเตอร์ ( computer )  หมายถึงอะไร
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
4.  จอภาพแสดงสี ภาพจะมีความละเอียดมากน้อยขึ้นอยู่กับอะไร
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
5.  Keyboard (แป้นพิมพ์) คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
6.  Printer หรือ เครื่องพิมพ์ มีกี่แบบอะไรบ้าง
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
7.  เครื่องพิมพ์ชนิดใด มีค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ค่อนข้างสูง ความเร็วในการพิมพ์ไม่สูงนัก พิมพ์ได้เฉาพะกระดาษเป็นแผ่น พิมพ์กระดาษต่อเนื่องไม่ได้
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
8.  Mouse (เมาส์) คืออะไร
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
9 . UPS ย่อมาจาก Uninterrupt Power Supply คืออะไร และทำหน้าที่อะไร
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................


ชื่อ – นามสกุล  .................................................................  รหัสนักศึกษา  ...........................  รุ่น  ........
ใบงานที่ 4    วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
ระบบคอมพิวเตอร์
1. ข้อใดให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ได้ถูกที่สุด
ก.  อุปกรณ์ที่มีหน่วยความจำ จอภาพ คีย์บอร์ดและอื่น ๆ
ข.  อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์  ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของชุดคำสั่ง
ค.  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำแบบอัตโนมัติ สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
ง.  เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการทำแบบอัตโนมัติทำหน้าที่เสมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ตามคำสั่งของโปรแกรม
2. ความเร็ว (Speed) ในคอมพิวเตอร์ จะถูกกำหนดโดยอุปกรณ์ชนิดใด
ก.  หน่วยส่งออก                        ข.  หน่วยความจำ                       ค.  หน่วยประมวลผล                  ค.  หน่วยนำเข้าข้อมูล
3.  ข้อใดเป็นข้อจำกัดของการใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ก.  ต้องใช้อุปกรณ์สำรองข้อมูลจำนวนมาก                        ข.  ต้องใช้ต้นทุนในการวางระบบสูงจึงจะทำงานได้ดี
ค.  เครื่องคอมพิวเตอร์กินกระแสไฟฟ้ามากทำให้สิ้นเปลือง  ง.  ต้องใช้ผู้มีความรู้ความชำนาญสูงปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์
4. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เก็บรวบข้อมูล
ก.  ห้องอาหารใช้คอมพิวเตอร์ร้องเพลงคาราโอเกะ
ข.  การตรวจกระดาษคำตอบที่ผู้เข้าสอบฝนด้วยดินสอดำ
ค.  พนักงานห้างสรรพสินค้าใช้เครื่องอ่านรหัสแท่งกับสินค้า
ง.  บรรณารักษ์ห้องสมุดเช็คการยืมหนังสือด้วยคอมพิวเตอร์
5. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์บันทึกข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์
ก.  แผ่นบันทึกข้อมูล                                                       ข.  กระดาษขนาด เอ เกรด A                
ค.  แผ่น ซีดี รอม และแผ่น ดีวีดี                                       ง.  ฮาร์ดดิสก์ แฮนดิสก์ แผ่นดิสเก็ต
6.  เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการคำนวณโดยการนับจำนวนโดยตรง ข้อมูลที่นับได้จะเก็บเป็นรหัสตัวเลขฐาน คือ มีเลข กับเลข หมายถึงข้อใด
ก.  ดิจิตอลคอมพิวเตอร์              ข.  ไฮบริดคอมพิวเตอร์                ค.  อนาล็อกคอมพิวเตอร์             ง.  ถูกทุกข้อ
7. คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รุ่นแรก สร้างในปี ค.ศ. 1960 ที่องค์การทหารของสหรัฐอเมริกา สร้างสามารถประมวลผลได้กว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที หมายถึงข้อใด
ก.  มินิคอมพิวเตอร์                     ข.  สถานีงานวิศวกรรม               ค.  ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์              ง.  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ 
8.  เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึงข้อใด
ก.  ไมรโครคอมพิวเตอร์               ข.  สถานีงานวิศวกรรม               ค.  ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์              ง.  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ 
9.  ข้อใดคือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด
ก.  ไมรโครคอมพิวเตอร์               ข.  มินิคอมพิวเตอร์            ค.  โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์                ง.  ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ 
10. ไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนาน้อย มีน้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัมจอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบมีทั้งแสดงผลแบบสีเดียว หรือแบบหลายสี หมายถึงข้อใด
ก.  โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์               ข.  แล็ปท๊อปคอมพิวเตอร์                        ค.  คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ         ง.  ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์
                       

ชื่อ – นามสกุล  .............................................................  รหัสนักศึกษา  ............................  รุ่น  ...........
ใบงานที่ 5    วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
วิธีการดูรายละเอียดสเปคคอมพิวเตอร์จากโบชัวร์
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. Operating System หรือ ที่เรียกภาษาไทยว่าระบบใด
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
2.  Processor หรือ ที่เรียกง่ายๆว่าอะไร ทำหน้าที่ใด
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
3. Chipset  คืออะไร
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
4. Memory หน่วยความจำสำรอง หรือที่เราเรียกว่า อะไร  
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
5. Harddisk คืออไร
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
6. Optical Drive เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่อย่างไร
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
7. Graphics ซึ่ง เป็นอุปกรณ์ในส่วนของระบบการแสดงผลของภาพ หรือถ้าคนทั่วไปจะรู้จักกันในนามว่า ของอะไร
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
  

ชื่อ – นามสกุล  .................................................................  รหัสนักศึกษา  ..........................  รุ่น  ........
ใบงานที่ 6    วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.  อธิบายขั้นตอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
2.  การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม DOS ทำได้อย่างไร
ตอบ ...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
3.  การปิดเครื่องระบบปฏิบัติการ Windows 95 มีขั้นตอนดังนี้
ตอบ ..........................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................


ชื่อ – นามสกุล  ...........................................................  รหัสนักศึกษา  ................................  รุ่น  ........
ใบงานที่ 7    วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
เรื่อง อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น
1. ข้อใดกล่าวถึงอินเตอร์เน็ต(Internet)ได้ถูกต้องที่สุด
ก.  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภึคคายในองค์การ                                   ข.  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อถึงกันทั่วโลก
ค.  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในประเทศ                            ง.  ถูกทุกข้อ
2. Protocol หมายถึงข้อใด
ก.  หมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย                    ข.  เว็บไซต์ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลหลาย ๆ ประเภท
ค.  ภาษาสื่อสารของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต             ง.  ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
3. อินเตอร์เน็ต ถูกพัฒนามาจากระบบเครือข่าย
ก.  Micro Net                             ข.  NECTEC                                ค.  MILNET                                ง.  ARPANET
4. ชื่อเครื่องในระบบอินเตอร์เน็ตที่ใช้ IP Address คือข้อใด
ก.  Protocal                                ข.  Domain Name Server (DNS)   ค.  HTTP                                    ง.  TCP/IP
5. 164.115.31.64 หมายถึงสิ่งใด
ก.  E- mail Address                    ข.  IP Address                            ค.  DNS                                                ง.  Internet Account
6. ISP หมายถึงข้อใด
ก.  ผู้ให้บริการทางด้านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต                             ข.  ผู้ให้บริการเนื้อที่สร้างโฮมเพจบนอินเตอร์เน็ต
ค.  ผู้ให้บริการเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล                                                            ง.  ผู้ให้บริการอีเมล์
7. URL หมายถึงข้อใด
ก.  ที่อยู่ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต                                               ข.  ที่อยู่อีเมล์
ค.  หน้าแรกของเว๊บไซต์                                                              ง.  ตำแหน่งที่อยู่ของเว๊บไซต์
8. เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณระหว่างคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์
ก.  เมาส์                                    ข.  ปริ๊นเตอร์                              ค.  โมเด็ม                                  ง.  คีย์บอร์ด
9. บริการซื้อขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต
ก.  E-mail                                 ข.  E-Learning                           ค.  E-Commerce                        ง.  E-Library
10. โปรแกรมที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
ก.  Web Editor                            ข.  Search Engine                       ค.  Web Server                          ง.  Web Browser

ชื่อ – นามสกุล  .............................................................  รหัสนักศึกษา  .............................  รุ่น  ..........
แบบทดสอบหลังเรียน  วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
1. ปัจจุบันสังคมมนุษย์จัดอยู่ในยุคใด
ก.  ยุคเกษตรกรรม                     ข.  ยุคอุตสาหกรรม                    ค.  ยุคสารสนเทศ                       ง.  ยุคสงครามเย็น
2.  บิดาของคอมพิวเตอร์ คือใคร
ก.  มอชลี                                  ข.  เอคเคิร์ท                               ค.  เบลส ปาสคาล                      ง.  ชาร์ลส์ แบบเบจ
3.  ยุคแรกของคอมพิวเตอร์ ใช้อุปกรณ์ใดในวงจรประมวลผล
ก.  ไอซี                                     ข.  ทรานซิสเตอร์                        ค.  หลอดสุญญากาศ                  ง.  ไมโครโปรเซสเซอร์
4.  ในยุคใดที่เริ่มมีการคิดค้นภาษาระดับสูงที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ก.  ยุควงจรรวม                          ข.  ยุคทรานซิสเตอร์                   ค.  ยุคหลอดสุญญากาศ              ง.  ยุควีแอลเอสไอ (ไอซี)
5.  ในยุควีแอลเอสไอ (ไอซี) ใช้สารชนิดใดเป็นตัวรวมวงจรให้เป็นซิป
ก.  เงิน                                      ข.  ทองคำ                                 ค.  ทองแดง                               ง.  ซิลิกอน
6.  ข้อใดเรียงลำดับยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบันได้ถูกต้อง
ก.  ทรานซิลเตอร์ หลอดสุญญากาศ วงจรรวม ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
ข.  หลอดสุญญากาศ  ทรานซิสเตอร์ วงจรรวม ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
ค.  หลอดสุญญากาศ วงจรรวม ทรานซิสเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
ง.  ทรานซิสเตอร์ วงจรรวม หลอดสุญญากาศ ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
7.  เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใดมีวิวัฒนาการรวดเร็วที่สุด
ก.  Super Computer                    ข.  Mini Computer                      ค.  Personal Computer                ง.  MainFrame Computer
8.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ ซีพียู(CPU)
ก.  ซีพียู คือหน่วยความจำ                      
ข.  ซีพียูประกอบด้วยหน่วยควบคุมหน่วยคำนวณและตรรกะ
ค.  หน้าที่หลักของซีพียูคือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ง.  ซีพียูมีหน้าที่อ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและทำตามกันเรียงทีละคำสั่ง
9.  การทำงานในข้อใดจำเป็นต้องใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผล
ก.  งานควบคุม่ขีปนาวุธ
ข.  งานควบคุมทางอากาศ
ค.  งานประมวลผลภาพทางการแพทย์
ง.  ถูกทุกข้อ
10.  ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานในด้านใด
ก.  สมุดจดบันทึกประจำวัน
ข.  การออกแบบงานกราฟิก
ค.  การคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์
ง.  ใช้ทำงานได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะทั่วไป 
11. ข้อใดให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ได้ถูกที่สุด
ก.  อุปกรณ์ที่มีหน่วยความจำ จอภาพ คีย์บอร์ดและอื่น ๆ
ข.  อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์  ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของชุดคำสั่ง
ค.  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำแบบอัตโนมัติ สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
ง.  เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการทำแบบอัตโนมัติทำหน้าที่เสมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ตามคำสั่งของโปรแกรม
12. ความเร็ว (Speed) ในคอมพิวเตอร์ จะถูกกำหนดโดยอุปกรณ์ชนิดใด
ก.  หน่วยส่งออก                        ข.  หน่วยความจำ                       ค.  หน่วยประมวลผล                  ค.  หน่วยนำเข้าข้อมูล
13.  ข้อใดเป็นข้อจำกัดของการใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ก.  ต้องใช้อุปกรณ์สำรองข้อมูลจำนวนมาก                        ข.  ต้องใช้ต้นทุนในการวางระบบสูงจึงจะทำงานได้ดี
ค.  เครื่องคอมพิวเตอร์กินกระแสไฟฟ้ามากทำให้สิ้นเปลือง  ง.  ต้องใช้ผู้มีความรู้ความชำนาญสูงปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์
14. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เก็บรวบข้อมูล
ก.  ห้องอาหารใช้คอมพิวเตอร์ร้องเพลงคาราโอเกะ
ข.  การตรวจกระดาษคำตอบที่ผู้เข้าสอบฝนด้วยดินสอดำ
ค.  พนักงานห้างสรรพสินค้าใช้เครื่องอ่านรหัสแท่งกับสินค้า
ง.  บรรณารักษ์ห้องสมุดเช็คการยืมหนังสือด้วยคอมพิวเตอร์
15. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์บันทึกข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์
ก.  แผ่นบันทึกข้อมูล                                                       ข.  กระดาษขนาด เอ เกรด A                
ค.  แผ่น ซีดี รอม และแผ่น ดีวีดี                                       ง.  ฮาร์ดดิสก์ แฮนดิสก์ แผ่นดิสเก็ต
16.  เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการคำนวณโดยการนับจำนวนโดยตรง ข้อมูลที่นับได้จะเก็บเป็นรหัสตัวเลขฐาน คือ มีเลข กับเลข หมายถึงข้อใด
ก.  ดิจิตอลคอมพิวเตอร์              ข.  ไฮบริดคอมพิวเตอร์                ค.  อนาล็อกคอมพิวเตอร์             ง.  ถูกทุกข้อ
17. คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รุ่นแรก สร้างในปี ค.ศ. 1960 ที่องค์การทหารของสหรัฐอเมริกา สร้างสามารถประมวลผลได้กว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที หมายถึงข้อใด
ก.  มินิคอมพิวเตอร์                     ข.  สถานีงานวิศวกรรม               ค.  ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์              ง.  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ 
18.  เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึงข้อใด
ก.  ไมรโครคอมพิวเตอร์               ข.  สถานีงานวิศวกรรม               ค.  ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์              ง.  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ 
19.  ข้อใดคือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด
ก.  ไมรโครคอมพิวเตอร์               ข.  มินิคอมพิวเตอร์            ค.  โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์                ง.  ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ 
20. ไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนาน้อย มีน้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัมจอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบมีทั้งแสดงผลแบบสีเดียว หรือแบบหลายสี หมายถึงข้อใด
ก.  โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์               ข.  แล็ปท๊อปคอมพิวเตอร์                        ค.  คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ         ง.  ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์

 ชื่อ – นามสกุล  .......................................................  รหัสนักศึกษา  ................................  รุ่น  ...........
แบบทดสอบระหว่างภาค  วิชา คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
1. ปัจจุบันสังคมมนุษย์จัดอยู่ในยุคใด
ก.  ยุคเกษตรกรรม                     ข.  ยุคอุตสาหกรรม                    ค.  ยุคสารสนเทศ                       ง.  ยุคสงครามเย็น
2.  บิดาของคอมพิวเตอร์ คือใคร
ก.  มอชลี                                  ข.  เอคเคิร์ท                               ค.  เบลส ปาสคาล                      ง.  ชาร์ลส์ แบบเบจ
3.  ยุคแรกของคอมพิวเตอร์ ใช้อุปกรณ์ใดในวงจรประมวลผล
ก.  ไอซี                                     ข.  ทรานซิสเตอร์                        ค.  หลอดสุญญากาศ                  ง.  ไมโครโปรเซสเซอร์
4.  ในยุคใดที่เริ่มมีการคิดค้นภาษาระดับสูงที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ก.  ยุควงจรรวม                          ข.  ยุคทรานซิสเตอร์                   ค.  ยุคหลอดสุญญากาศ              ง.  ยุควีแอลเอสไอ (ไอซี)
5.  ในยุควีแอลเอสไอ (ไอซี) ใช้สารชนิดใดเป็นตัวรวมวงจรให้เป็นซิป
ก.  เงิน                                      ข.  ทองคำ                                 ค.  ทองแดง                               ง.  ซิลิกอน
6.  ข้อใดเรียงลำดับยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบันได้ถูกต้อง
ก.  ทรานซิลเตอร์ หลอดสุญญากาศ วงจรรวม ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
ข.  หลอดสุญญากาศ  ทรานซิสเตอร์ วงจรรวม ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
ค.  หลอดสุญญากาศ วงจรรวม ทรานซิสเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
ง.  ทรานซิสเตอร์ วงจรรวม หลอดสุญญากาศ ไมโครโปรเซสเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์
7.  เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใดมีวิวัฒนาการรวดเร็วที่สุด
ก.  Super Computer                    ข.  Mini Computer                      ค.  Personal Computer                ง.  MainFrame Computer
8.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ ซีพียู(CPU)
ก.  ซีพียู คือหน่วยความจำ                      
ข.  ซีพียูประกอบด้วยหน่วยควบคุมหน่วยคำนวณและตรรกะ
ค.  หน้าที่หลักของซีพียูคือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ง.  ซีพียูมีหน้าที่อ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและทำตามกันเรียงทีละคำสั่ง
9.  การทำงานในข้อใดจำเป็นต้องใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผล
ก.  งานควบคุม่ขีปนาวุธ
ข.  งานควบคุมทางอากาศ
ค.  งานประมวลผลภาพทางการแพทย์
ง.  ถูกทุกข้อ
10.  ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานในด้านใด
ก.  สมุดจดบันทึกประจำวัน
ข.  การออกแบบงานกราฟิก
ค.  การคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์
ง.  ใช้ทำงานได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะทั่วไป 
11.ข้อใดให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ได้ถูกที่สุด
ก.  อุปกรณ์ที่มีหน่วยความจำ จอภาพ คีย์บอร์ดและอื่น ๆ
ข.  อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์  ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของชุดคำสั่ง
ค.  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำแบบอัตโนมัติ สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
ง.  เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการทำแบบอัตโนมัติทำหน้าที่เสมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ตามคำสั่งของโปรแกรม
12. ความเร็ว (Speed) ในคอมพิวเตอร์ จะถูกกำหนดโดยอุปกรณ์ชนิดใด
ก.  หน่วยส่งออก                        ข.  หน่วยความจำ                       ค.  หน่วยประมวลผล                  ค.  หน่วยนำเข้าข้อมูล
13.  ข้อใดเป็นข้อจำกัดของการใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ก.  ต้องใช้อุปกรณ์สำรองข้อมูลจำนวนมาก                        ข.  ต้องใช้ต้นทุนในการวางระบบสูงจึงจะทำงานได้ดี
ค.  เครื่องคอมพิวเตอร์กินกระแสไฟฟ้ามากทำให้สิ้นเปลือง  ง.  ต้องใช้ผู้มีความรู้ความชำนาญสูงปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์
14. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เก็บรวบข้อมูล
ก.  ห้องอาหารใช้คอมพิวเตอร์ร้องเพลงคาราโอเกะ
ข.  การตรวจกระดาษคำตอบที่ผู้เข้าสอบฝนด้วยดินสอดำ
ค.  พนักงานห้างสรรพสินค้าใช้เครื่องอ่านรหัสแท่งกับสินค้า
ง.  บรรณารักษ์ห้องสมุดเช็คการยืมหนังสือด้วยคอมพิวเตอร์
15. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์บันทึกข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์
ก.  แผ่นบันทึกข้อมูล                                                       ข.  กระดาษขนาด เอ เกรด A                
ค.  แผ่น ซีดี รอม และแผ่น ดีวีดี                                       ง.  ฮาร์ดดิสก์ แฮนดิสก์ แผ่นดิสเก็ต
16.  เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการคำนวณโดยการนับจำนวนโดยตรง ข้อมูลที่นับได้จะเก็บเป็นรหัสตัวเลขฐาน คือ มีเลข กับเลข หมายถึงข้อใด
ก.  ดิจิตอลคอมพิวเตอร์              ข.  ไฮบริดคอมพิวเตอร์                ค.  อนาล็อกคอมพิวเตอร์             ง.  ถูกทุกข้อ
17. คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รุ่นแรก สร้างในปี ค.ศ. 1960 ที่องค์การทหารของสหรัฐอเมริกา สร้างสามารถประมวลผลได้กว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที หมายถึงข้อใด
ก.  มินิคอมพิวเตอร์                     ข.  สถานีงานวิศวกรรม               ค.  ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์              ง.  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ 
18.  เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึงข้อใด
ก.  ไมรโครคอมพิวเตอร์               ข.  สถานีงานวิศวกรรม               ค.  ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์              ง.  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ 
19.  ข้อใดคือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด
ก.  ไมรโครคอมพิวเตอร์               ข.  มินิคอมพิวเตอร์            ค.  โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์                ง.  ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ 
20. ไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนาน้อย มีน้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัมจอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบมีทั้งแสดงผลแบบสีเดียว หรือแบบหลายสี หมายถึงข้อใด
ก.  โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์               ข.  แล็ปท๊อปคอมพิวเตอร์                        ค.  คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ         ง.  ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์21. ข้อใดกล่าวถึงอินเตอร์เน็ต(Internet)ได้ถูกต้องที่สุด
ก.  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภึคคายในองค์การ                                   ข.  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อถึงกันทั่วโลก
ค.  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในประเทศ                                        ง.  ถูกทุกข้อ 
22. Protocol หมายถึงข้อใด
ก.  หมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย                    ข.  เว็บไซต์ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลหลาย ๆ ประเภท
ค.  ภาษาสื่อสารของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต             ง.  ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
23. อินเตอร์เน็ต ถูกพัฒนามาจากระบบเครือข่าย
ก.  Micro Net                             ข.  NECTEC                                ค.  MILNET                                ง.  ARPANET
24. ชื่อเครื่องในระบบอินเตอร์เน็ตที่ใช้ IP Address คือข้อใด
ก.  Protocal                                ข.  Domain Name Server (DNS)   ค.  HTTP                                    ง.  TCP/IP
25. 164.115.31.64 หมายถึงสิ่งใด
ก.  E- mail Address                    ข.  IP Address                            ค.  DNS                                                ง.  Internet Account
26. ISP หมายถึงข้อใด
ก.  ผู้ให้บริการทางด้านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต                             ข.  ผู้ให้บริการเนื้อที่สร้างโฮมเพจบนอินเตอร์เน็ต
ค.  ผู้ให้บริการเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล                                                            ง.  ผู้ให้บริการอีเมล์
27. URL หมายถึงข้อใด
ก.  ที่อยู่ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต                                               ข.  ที่อยู่อีเมล์
ค.  หน้าแรกของเว๊บไซต์                                                              ง.  ตำแหน่งที่อยู่ของเว๊บไซต์
28. เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณระหว่างคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์
ก.  เมาส์                                    ข.  ปริ๊นเตอร์                              ค.  โมเด็ม                                  ง.  คีย์บอร์ด
29. บริการซื้อขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต
ก.  E-mail                                 ข.  E-Learning                           ค.  E-Commerce                        ง.  E-Library
30. โปรแกรมที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
ก.  Web Editor                            ข.  Search Engine                       ค.  Web Server                          ง.  Web Browser